Piangkwan Wongkosolsuk ( Lhin ), Author at NOSTRA MAP https://www.nostramap.com/author/piangkwan-wcdg-co-th/ Turn Your Data into Decisions Wed, 26 Oct 2022 08:31:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.0.3 https://www.nostramap.com/wp-content/uploads/2019/11/cropped-xcvzxvzv-32x32.png Piangkwan Wongkosolsuk ( Lhin ), Author at NOSTRA MAP https://www.nostramap.com/author/piangkwan-wcdg-co-th/ 32 32 รู้จัก NOSTRA Network Dataset ชุดข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เส้นทาง ที่ไม่ได้มีแค่เส้นถนน https://www.nostramap.com/2022/10/26/nostra-network-dataset/ https://www.nostramap.com/2022/10/26/nostra-network-dataset/#respond Wed, 26 Oct 2022 08:31:07 +0000 https://www.nostramap.com/?p=13105 ฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ธุรกิจ รูปแบบการเดินทางที่หลากหลาย Travel Mode  –  รองรับการเดินทางที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ (Car) , รถบรรทุก (Truck) , มอเตอร์ไซด์ (motorcycle) ,จักรยาน (Bike) , เดินเท้า (walk)  เป็นต้น  ซึ่งการเดินทางในประเทศไทยจะมีข้อบังคับในการใช้เส้นถนนแตกต่างกัน  เช่น ความเร็ว , ความกว้างของถนน ,จำนวนเลน , ป้ายห้ามเลี้ยว ข้อจำกัดในการใช้เส้นทาง Avoid Restriction — สามารถกำหนดเส้นทางในการเดินทางได้อย่างเหมาะสม เช่น หลีกเลี่ยงการใช้ทางด่วน (Toll Road ) , เรือข้ามฟาก (Ferry) , ถนนส่วนบุคคล (Private Road) , ถนนที่กำลังก่อสร้าง (Under Construction) , ถนนลูกรัง (Unpaved Road ) […]

The post รู้จัก NOSTRA Network Dataset ชุดข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เส้นทาง ที่ไม่ได้มีแค่เส้นถนน appeared first on NOSTRA MAP.

]]>
หลายๆอาจจะคุ้นเคยเรื่องเส้นทางการเดินทางในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อเราจะเดินทางไปเที่ยว หรือเดินทางไปในพื้นที่อื่นๆที่อาจจะไม่คุ้นเคย เราจะต้องมีการวางแผนการเดินทางล่วงหน้าเป็นปกติอยู่แล้ว และหากเราต้องการวางแผนเส้นทางในเชิงของธุรกิจจะมีเครื่องมืออะไรที่จะสามารถตอบโจทย์การทำงานได้ ไปทำความรู้จักกัน

Network analyst คือ ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับโครงข่ายถนน โดยใช้ข้อมูล Road Network ร่วมกับ ArcGIS Network Analyst Extension ซึ่งได้มาจากการสร้างข้อมูลจุด เส้น และการเลี้ยว การเชื่อมต่อรูปแบบต่าง ๆ โครงข่ายถนนตามข้อมูล รวมกับเงื่อนไขที่ต้องการ จึงออกมาเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโครงข่ายที่มีความแม่นยำสูงที่สุด

ฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ธุรกิจ

  1. รูปแบบการเดินทางที่หลากหลาย Travel Mode  –  รองรับการเดินทางที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ (Car) , รถบรรทุก (Truck) , มอเตอร์ไซด์ (motorcycle) ,จักรยาน (Bike) , เดินเท้า (walk)  เป็นต้น  ซึ่งการเดินทางในประเทศไทยจะมีข้อบังคับในการใช้เส้นถนนแตกต่างกัน  เช่น ความเร็ว , ความกว้างของถนน ,จำนวนเลน , ป้ายห้ามเลี้ยว
  2. ข้อจำกัดในการใช้เส้นทาง Avoid Restriction — สามารถกำหนดเส้นทางในการเดินทางได้อย่างเหมาะสม เช่น หลีกเลี่ยงการใช้ทางด่วน (Toll Road ) , เรือข้ามฟาก (Ferry) , ถนนส่วนบุคคล (Private Road) , ถนนที่กำลังก่อสร้าง (Under Construction) , ถนนลูกรัง (Unpaved Road )
  3. แนะนำเส้นทางที่เหมาะสม Prefer Restriction– สามารถสร้างเส้นทางแนะนำ สำหรับรถแต่ละประเภท เช่น ถนนสำหรับรถบรรทุก ซึ่งจะต้องมีเงื่อนไขพิเศษ เช่น มีความกว้างของถนน เป็นถนนทางหลวง หรือทางสายเอเชีย ที่เหมาะสำหรับการวิ่งรถบรรทุก หรือเส้นทางพิเศษสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ

Network Analysis Layer ข้อมูลการวิเคราะห์โครงข่าย เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลาย ได้แก่

  1. Route analysis Layer  — การค้นหา และวิเคราะห์เส้นทาง จากจุด Aไปจุด B ที่ดีที่สุด เช่นการค้นหาระยะทางที่สั้นที่สุด หรือ ระยะทางที่ใช้เวลาการเดินทางที่น้อยที่สุด เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้กับธุรกิจขนส่งได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น ใช้ในการจัดลำดับการขนส่ง ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น

2. Service Area analysis layer – การค้นหาพื้นที่ให้บริการ ตามเขตพื้นที่การให้บริการ โดยครอบคลุมพื้นที่เส้นถนนจริง ตามประเภทการเดินทางจริง โดยสามารถสร้างเส้นทางพื้นที่ให้บริการได้ทั้งแบบใช้ระยะทางและ ใช้เวลาเป็นเงื่อนไขในการแสดงผลได้ อีกทั้งยังสร้างการกำหนดทิศทางการให้บริการ (Away from Facility) หรือรับบริการ (Towards Facility) ได้อีกด้วย

3. Closest facility analysis layer – การค้นหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใกล้ที่สุด เช่น การค้นหาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในระยะทางไม่เกิน 2 กิโลเมตร หรือ โรงพยาบาลไหนจะส่งรถพยาบาลไปรับผู้ป่วยที่ใกล้ที่สุด

4. Location allocation analysis layer –  การวิเคราะห์หาพื้นที่ หาสาขาที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุด โดยอ้างอิงจากการวิเคราะห์จาก ความต้องการ ,สิ่งอำนวยความสะดวก ,และคู่แข่งต่างๆ มาประกอบรวมกัน ออกมาเป็นพื้นที่ที่ดีที่สุดสำหรับการตั้งสาขา 

5. OD Cost Matrix analysis layer – การวิเคราะห์หาค่าใช้จ่ายระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดปลายทาง ให้ออกมาเป็นค่าใช้จ่ายในรูปแบบของตาราง

6. Vehicle routing problem analysis layer – การสร้างเงื่อนไขในการส่งสินค้า เพื่อการจัดลำดับการส่งสินค้า เพื่อการจัดการเส้นทางสำหรับยานพาหนะ โดยสามารถกำหนด จำนวนรถ จำนวนจุดที่ไปส่ง กำหนดเวลาออกและกลับ เวลาเปิด ปิดของจุดที่จะไปส่ง กำหนดระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมดได้ เป็นต้น ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการจัดเรียงสินค้าขึ้นรถใน DC เพื่อลดระยะเวลาในการลำเรียงสินค้าได้ด้วย

ประโยชน์จากการใช้ Network analyst

ด้วยความสามารถของ Network analyst จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเงื่อนไขสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลโครงข่ายได้เสมือนจริงมากยิ่งขึ้น โดยสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้ ดังนี้

  • การวิเคราะห์เส้นทางที่ดีที่สุด ( Best route analysis )
  • การวิเคราะห์พื้นที่ให้บริการ ( Service area analysis )
  • การวิเคราะห์หาสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใกล้ที่สุด ( Closest facility analyst )
  • การวิเคราะห์เมทริกซ์ค่าใช้จ่ายระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดปลายทาง (Origin-Destination cost matrix analysis)
  • การวิเคราะห์ปัญหาการจัดเส้นทางของยานพาหนะ ( Vehicle routing problem analysis )
  • การวิเคราะห์หาที่ตั้ง และการจัดสรร (Location-allocation analysis)

ให้ NOSTRA เป็นผู้ช่วยสำหรับธุรกิจของคุณ

ด้วยข้อมูลที่ละเอียดแม่นยำ รองรับการใช้งานได้หลากหลายธุรกิจ  ครอบคลุมโครงข่าย AEC 10 ประเทศ

  1. NOSTRA Network Dataset – ข้อมูลโครงข่ายถนนที่รองรับการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับข้อมูลตำแหน่งของ NOSTRA หรือ โปรแกรม ArcGIS สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างง่ายได้ ประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายธุรกิจ
  2. NOSTRA Online Map Service  — ข้อมูลแผนที่แบบออนไลน์ ที่เชื่อมต่อแอปพลิเคชัน หรือเว็บแอปพลิเคชันผ่าน API (Application programing interface) ที่รองรับการใช้งานสำหรับธุรกิจขนส่งโดยเฉพาะ ยกระดับการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานจัดส่ง และสนับสนุนงานด้านติดตามพิกัดตำแหน่งยานพาหนะ (Fleet management) ตอบโจทย์ความต้องการได้มากกว่า

องค์กรที่สนใจบริการ NOSTRA Network Dataset สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nostramap.com/mapnavigation-th/  หรือ NOSTRA Online Map Service  https://www.nostramap.com/mapapi-th/   สนใจโซลูชันติดต่อ [email protected]

ติดตามเราในช่องทางอื่นๆ

Website: www.NOSTRAMAP.com

Facebook: NOSTRA for Business

Blockdit: NOSTRA for Business

Tiktok: nostra_guides

LinkedIn: NOSTRA for Business

The post รู้จัก NOSTRA Network Dataset ชุดข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เส้นทาง ที่ไม่ได้มีแค่เส้นถนน appeared first on NOSTRA MAP.

]]>
https://www.nostramap.com/2022/10/26/nostra-network-dataset/feed/ 0
สปสช. x NOSTRA ปักหมุดแผนที่ “สถานพยาบาลในระบบ สปสช.”ผู้ป่วยสามารถเช็กตำแหน่งสถานพยาบาลเพื่อเข้ารักษาตามสิทธิประโยชน์ต่อไป https://www.nostramap.com/2022/09/19/layer-ucep/ https://www.nostramap.com/2022/09/19/layer-ucep/#respond Mon, 19 Sep 2022 04:20:05 +0000 https://www.nostramap.com/?p=13086 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับ บริษัท โกลบเทค จำกัด ผู้ให้บริการข้อมูลแผนที่ดิจิทัล และแอปพลิเคชัน NOSTRA นำข้อมูลตำแหน่ง “หน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” กว่า 12,000 แห่ง แสดงตำแหน่งในแอปพลิเคชันแผนที่ NOSTRA เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้ประชาชนสิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) สามารถเช็กตำแหน่งหน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ที่เข้าร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ครอบคลุมทั่วประเทศได้ง่ายยิ่งขึ้น ก่อนเข้ารักษาตามสิทธิประโยชน์ต่อไป ปัจจุบันในแอปพลิเคชันแผนที่ NOSTRA มีข้อมูลหน่วยบริการสถานพยาบาลกว่า12,000 แห่ง ที่เข้าร่วมให้บริการประชาชนสิทธิบัตรทอง 30 บาท โดยหน่วยบริการแต่ละประเภทจะมีการให้บริการที่แตกต่างกันตามประเภทการขึ้นทะเบียน อาทิเช่น หน่วยบริการประจำในระบบหลักประกันสุขภาพ, หน่วยบริการปฐมภูมิ, บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป, บริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค, หน่วยบริการที่รับการส่งต่อทั่วไป และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้าน เป็นต้น โดยสามารถดูตำแหน่งหน่วยบริการสถานพยาบาลได้บนแผนที่NOSTRA Map คลิก https://map.nostramap.com/NostraMap/?layer/covid19uc,feed/th การที่ สปสช.ร่วมกับ บริษัท โกลบเทค จำกัด ปักหมุดแผนที่หน่วยบริการสถานพยาบาลในระบบบัตรทอง จะช่วยทำให้ประชาชนสามารถตรวจสอบหน่วยบริการที่อยู่ใกล้ […]

The post สปสช. x NOSTRA ปักหมุดแผนที่ “สถานพยาบาลในระบบ สปสช.”ผู้ป่วยสามารถเช็กตำแหน่งสถานพยาบาลเพื่อเข้ารักษาตามสิทธิประโยชน์ต่อไป appeared first on NOSTRA MAP.

]]>

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับ บริษัท โกลบเทค จำกัด ผู้ให้บริการข้อมูลแผนที่ดิจิทัล และแอปพลิเคชัน NOSTRA นำข้อมูลตำแหน่ง “หน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” กว่า 12,000 แห่ง แสดงตำแหน่งในแอปพลิเคชันแผนที่ NOSTRA เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้ประชาชนสิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) สามารถเช็กตำแหน่งหน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ที่เข้าร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ครอบคลุมทั่วประเทศได้ง่ายยิ่งขึ้น ก่อนเข้ารักษาตามสิทธิประโยชน์ต่อไป

ปัจจุบันในแอปพลิเคชันแผนที่ NOSTRA มีข้อมูลหน่วยบริการสถานพยาบาลกว่า12,000 แห่ง ที่เข้าร่วมให้บริการประชาชนสิทธิบัตรทอง 30 บาท โดยหน่วยบริการแต่ละประเภทจะมีการให้บริการที่แตกต่างกันตามประเภทการขึ้นทะเบียน อาทิเช่น หน่วยบริการประจำในระบบหลักประกันสุขภาพ, หน่วยบริการปฐมภูมิ, บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป, บริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค, หน่วยบริการที่รับการส่งต่อทั่วไป และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้าน เป็นต้น โดยสามารถดูตำแหน่งหน่วยบริการสถานพยาบาลได้บนแผนที่NOSTRA Map คลิก https://map.nostramap.com/NostraMap/?layer/covid19uc,feed/th

การที่ สปสช.ร่วมกับ บริษัท โกลบเทค จำกัด ปักหมุดแผนที่หน่วยบริการสถานพยาบาลในระบบบัตรทอง จะช่วยทำให้ประชาชนสามารถตรวจสอบหน่วยบริการที่อยู่ใกล้ เพื่อเข้าไปใช้บริการได้ นอกเหนือจากไปใช้บริการที่หน่วยบริการประจำตัวที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็น เช่น กรณีอยู่ต่างพื้นที่กับหน่วยบริการประจำของตน หากเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา สามารถเข้ารักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นไปตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ในหน่วยบริการปฐมภูมิ แต่ประชาชนอาจจะยังไม่เข้าใจว่าคำว่าหน่วยบริการปฐมภูมิคืออะไร และหน่วยบริการที่อยู่ใกล้นั้นคือหน่วยบริการปฐมภูมิหรือไม่ ซึ่งประชาชนก็สามารถเข้าไปค้นหาได้ที่เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน NOSTRA เลือกประเภทหน่วยบริการที่เขียนว่า “บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป” และสามารถเข้าไปรักษาตามสิทธิประโยชน์ได้เลย โดยใช้บัตรประชาชนเพื่อแสดงตัวก่อนเข้ารักษา

หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินในระดับสีเขียวและสีเหลือง ซึ่งยังไม่เข้าเกณฑ์เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (สีแดง) ตามนโยบาย UCEP ก็สามารถเข้ารักษาได้ที่หน่วยบริการในระบบบัตรทองหรือ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ทุกแห่ง ซึ่งประชาชนสามารถค้นหารายชื่อหน่วยบริการที่เข้าร่วมได้เช่นกัน

นอกจากนั้น ยังมีกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ที่ สปสช.ดูแลประชาชนไทยทุกคน ทุกสิทธิการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น สิทธิประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ สิทธิบัตรทอง 30 บาท และสิทธิอื่นๆ โดยแบ่งการสร้างเสริมสุขภาพในแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะได้รับบริการที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มผู้หญิง จะได้รับสิทธิตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกฟรี, คุมกำเนิดฟรี (ใส่ห่วงอนามัย ยาฉีดคุมกำเนิด ฯลฯ) กลุ่มผู้สูงอายุ คัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ฟรี ฉีดวัคซีนต่างๆ ตามสิทธิประโยชน์ ซึ่งการไปใช้บริการนั้น ประชาชนอาจจะสงสัยว่าไปใช้สถานพยาบาลใดได้บ้าง โดยเฉพาะประชาชนเป็นสิทธิอื่นที่ไม่ได้มีหน่วยบริการประจำเหมือนสิทธิบัตรทองหรือสิทธิประกันสังคม หรือแม้กระทั่งมีหน่วยบริการประจำ แต่หน่วยบริการประจำไม่ได้เข้าร่วมให้บริการ ตรงนี้ก็สามารถค้นหาหน่วยบริการเพื่อไปรับบริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคได้ โดยเลือกประเภทหน่วยบริการที่เขียนว่า “บริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค”

ทั้งนี้นอกจากเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน NOSTRA แล้ว ประชาชนยังสามารถเข้าไปดูได้ที่ เว็บไซต์ สปสช. www.nhso.go.th  ได้เช่นกัน รายชื่อหน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) https://www.nhso.go.th/page/hospital หรือhttps://map.nostramap.com/NostraMap/?layer/covid19uc,feed/thhttps://map.nostramap.com/NostraMap/?layer/covid19uc,feed/th รวมถึงร้านขายยาที่เข้าโครงการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 รับยา-แนะนำการใช้ยา ซึ่งขณะนี้ให้บริการครอบคลุมทั้งสิทธิบัตรทอง 30 บาท, สิทธิประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการแล้ว ผู้ป่วยโควิด-19 สามารถค้นหาร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการได้ ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน NOSTRA โดยดูตำแหน่ง “ร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว” บนแผนที่ดิจิทัลกับ NOSTRA Map เปิดดูตำแหน่งร้านยาที่เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศบนแผนที่ https://map.nostramap.com/NostraMap/?layer/covid19pharmacy,feed/th แพน ซูม ดูตำแหน่ง ระยะทางใกล้ไกลได้ผ่านแอปพลิเคชันได้อย่างง่ายได้

นอกจากนี้ NOSTRA ยังได้ร่วมเป็นอีกหนึ่งกำลังสนุบสนุนสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 อย่างสม่ำเสมอตลอดมา โดยมีการนำข้อมูลมาแสดงผ่านแอปพลิเคชันแผนที่ “นอสตร้า” เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจและวางแผนการเดินทางไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แผนที่จุดฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยกรุงเทพมหานคร, ตำแหน่งจุดรับตรวจเชื้อโควิด รวมถึงตำแหน่งร้านยาผู้ป่วยโควิดสีเขียว แสดงบนแผนที่ NOSTRA MAP โดยสามารถดาวน์โหลดฟรี ใช้งานได้ทั้งรูปแบบเว็บและโมบาย คลิก https://map.nostramap.com/mobile     หรือเข้าไปดูรายชื่อรายยาที่เข้าร่วมโครงการได้ที่เว็บไซต์ สปสช. www.nhso.go.th หรือที่ลิงค์  https://www.nhso.go.th/downloads/197 ได้เช่นกัน

4 วิธีเช็คสิทธิรักษาพยาบาล ทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง

1.โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 2

2.เว็บไซต์ สปสช. https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml

3.แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง

4.ไลน์ สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand

The post สปสช. x NOSTRA ปักหมุดแผนที่ “สถานพยาบาลในระบบ สปสช.”ผู้ป่วยสามารถเช็กตำแหน่งสถานพยาบาลเพื่อเข้ารักษาตามสิทธิประโยชน์ต่อไป appeared first on NOSTRA MAP.

]]>
https://www.nostramap.com/2022/09/19/layer-ucep/feed/ 0
NOSTRA รวมกฎข้อบังคับสำหรับคนมีรถบรรทุก รู้ไว้ไม่โดนปรับ ! https://www.nostramap.com/2022/09/14/truck-map/ https://www.nostramap.com/2022/09/14/truck-map/#respond Wed, 14 Sep 2022 09:52:08 +0000 https://www.nostramap.com/?p=13072 เพราะเราเข้าใจ ว่าการขับรถบรรทุกที่ในเมืองไทยไม่ง่าย จากการเติบโตของภาคขนส่ง ทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างดุเดือด ความรวดเร็ว ต้นทุน และความปลอดภัย เป็นปัจจัยหลักที่หากควบคุมได้จะทำให้มีโอกาสชนะเหนือคู่แข่งขัน แต่เหล่าผู้ประกอบการต่างทราบดีว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบริหารจัดการให้เป็นไปตามที่ต้องการ เพราะการขนส่งด้วยรถบรรทุกในประเทศไทยและทั่วโลกนั้นประกอบไปด้วยหลากหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง  พขร. หรือพนักงานขับรถ เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนพนักงานขับรถที่เชี่ยวชาญในการขับรถ ความรู้ความเข้าใจกฏหมายควบคุมการขับขี่รถบรรทุก การจดจำเส้นทางต่างๆ ทางโค้ง ทางแยก จุดอันตรายต่างๆ ได้อย่างแม่นยำนั้นหายากและขาดแคลน  อีกทั้งกฏหมายที่กรมการขนส่งทางบกประกาศใช้เพื่อเข้มงวดกับการเดินรถมากขึ้นตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา  การขับขี่รถบรรทุกในเมืองไทยจึงไม่ใช่เรื่องง่าย นอสตร้าจึงได้รวบรวมข้อกฏหมายที่ควรรู้ในเบื้องต้นเพื่อการขับขี่รถบรรทุกมาฝากกัน 1.น้ำหนักของรถบรรทุก เรื่องพิกัดน้ำหนักบรรทุก เป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรรู้อย่างมาก เพราะหากฝ่าฝืน จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากผิดกฎหมายแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ เช่น ทำให้พิ้นผิวถนนพัง ทรุดโทรม เสียหาย เป็นหลุมบ่อ เป็นต้น และตามประกาศกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก ได้กำหนดน้ำหนักของรถบรรทุกรวมน้ำหนักรถ เอาไว้ดังนี้ รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกินกว่า 9.5 ตัน รถบรรทุกขนาด 6 ล้อ […]

The post NOSTRA รวมกฎข้อบังคับสำหรับคนมีรถบรรทุก รู้ไว้ไม่โดนปรับ ! appeared first on NOSTRA MAP.

]]>
เพราะเราเข้าใจ ว่าการขับรถบรรทุกที่ในเมืองไทยไม่ง่าย

จากการเติบโตของภาคขนส่ง ทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างดุเดือด ความรวดเร็ว ต้นทุน และความปลอดภัย เป็นปัจจัยหลักที่หากควบคุมได้จะทำให้มีโอกาสชนะเหนือคู่แข่งขัน แต่เหล่าผู้ประกอบการต่างทราบดีว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบริหารจัดการให้เป็นไปตามที่ต้องการ เพราะการขนส่งด้วยรถบรรทุกในประเทศไทยและทั่วโลกนั้นประกอบไปด้วยหลากหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง  พขร. หรือพนักงานขับรถ เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนพนักงานขับรถที่เชี่ยวชาญในการขับรถ ความรู้ความเข้าใจกฏหมายควบคุมการขับขี่รถบรรทุก การจดจำเส้นทางต่างๆ ทางโค้ง ทางแยก จุดอันตรายต่างๆ ได้อย่างแม่นยำนั้นหายากและขาดแคลน  อีกทั้งกฏหมายที่กรมการขนส่งทางบกประกาศใช้เพื่อเข้มงวดกับการเดินรถมากขึ้นตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา  การขับขี่รถบรรทุกในเมืองไทยจึงไม่ใช่เรื่องง่าย นอสตร้าจึงได้รวบรวมข้อกฏหมายที่ควรรู้ในเบื้องต้นเพื่อการขับขี่รถบรรทุกมาฝากกัน

1.น้ำหนักของรถบรรทุก

เรื่องพิกัดน้ำหนักบรรทุก เป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรรู้อย่างมาก เพราะหากฝ่าฝืน จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากผิดกฎหมายแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ เช่น ทำให้พิ้นผิวถนนพัง ทรุดโทรม เสียหาย เป็นหลุมบ่อ เป็นต้น และตามประกาศกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก ได้กำหนดน้ำหนักของรถบรรทุกรวมน้ำหนักรถ เอาไว้ดังนี้

  • รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกินกว่า 9.5 ตัน
  • รถบรรทุกขนาด 6 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 15 ตัน
  • รถบรรทุกขนาด 10 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 25 ตัน
  • รถพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ต้องบรรทุกหนักไม่เกิน 50.5 ตัน

2.สะพานที่ห้ามขึ้น

ในเขตกรุงเทพมหานครเองก็มีกฏ ข้อบังคับว่าด้วยการห้ามรถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน ขึ้นสะพานข้ามทางแยก การห้ามหยุดห้ามจอดรถ และการห้ามเลี้ยวรถหรือกลับรถในถนนหรือซอยต่าง ๆ เช่น ห้ามรถบรรทุก ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป เดินรถบนสะพานกรุงธน (ซังฮี้) , สะพานแยกรัชโยธิน ,สะพานกลับรถทับช้างใหม่ เป็นต้น

3.ความเร็วตามกฏหมาย

สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับความเร็วบนทางหลวงนั้น มีกฎหมายกำหนดไว้ใน กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 ออกตามความในพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 เรื่อง อัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงชนบทมีดังต่อไปนี้

· รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 90 กิโลเมตร
· รถยนต์ขณะที่ลากจูงรถพ่วง หรือรถสามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 60 กิโลเมตร
· รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม ไม่ว่าจะลากจูงรถพ่วงด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือรถบรรทุกคนโดยสาร ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร

กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 ให้กำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ทางสาย กรุงเทพมหานคร-เมืองพัทยา และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนภิเษก) ทางสายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้

· รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 1,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสาร ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 100 กิโลเมตร
· รถบรรทุกอื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ใน (1) รวมทั้งรถบรรทุกหรือรถยนต์ขณะที่ลากจูงรถพ่วง ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร
· 3. รถยนต์อื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ให้ใช้ความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 120 กิโลเมตร

4.การจำกัดเวลา และพื้นที่วิ่งของรถบรรทุก

อย่างที่เรารู้กันดีว่า สภาพการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯนั้น ติดขัดหลายพื้นที่ ทำให้จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมากำหนด ห้ามรถบรรทุกวิ่งพื้นที่ชั้นใน ดังนี้
· วิ่งบนทางราบ
o         ห้ามรถบรรทุกก๊าซ วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง เดินรถในเขตกรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์
o         รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 09.00 น. และ เวลา 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
o         รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 10.00 น. และ เวลา 15.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
o         ห้ามรถบรรทุกอื่น เช่น บรรทุกซุง เสาเข็ม เดินรถ เวลา 06.00-21.00 น.
· วิ่งบนทางด่วน
o         รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.
o         รถบรรทุก 10ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 15.00-21.00 น.
o         รถบรรทุกสารเคมี ห้ามวิ่งเวลา 06.00-10.00 น. และ 15.00-22.00 น.

ให้ NOSTRA MAP ช่วยเพิ่มศักยภาพให้แอปพลิเคชันของคุณ

  • NOSTRA TRUCK MAP FOR NAVIGATION

จะดีกว่าไหมถ้าคนขับรถบรรทุกของคุณ สามารถใช้งาน NOSTRA TRUCK MAP  นำทางไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้องด้วยรถบรรทุก ขจัดความกังวลในการขับขี่รถบรรทุกของทุกบริษัทขนส่งสินค้าด้วยข้อมูลแผนที่ออนไลน์ที่อัปเดตอยู่เสมอ มากกว่าความสะดวกในการขับขี่ คือการลดต้นทุนการเดินทางที่เกิดจากการขับขี่อ้อม หรือค่าปรับแสนแพงจากการขับขี่ไปในถนนที่ห้ามรถบรรทุกเข้า และความปลอดภัยของคนและทรัพย์สินของคุณ รวมถึงแนะนำจุดจอดรถระหว่างเส้นทาง ตามเงื่อนไขในการขับรถบรรทุกทางไกลจะต้องมีการกำหนดเวลาพักตามกฏหมาย

  • NOSTRA TRUCK MAP FOR PLANNING  

ผู้ประกอบการ หรือทีมงานวางแผนจัดส่ง สามารถใช้ข้อมูลแผนที่ NOSTRA ประกอบเพื่อวางแผนการทำงาน วางแผนการขนส่งสำหรับเส้นทางรถบรรทุกได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุนเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง NOSTRA Truck Map จะเข้าไปช่วยในเรื่องการหาจุดเติมเชื้อเพลิงตามเส้นทางที่วางแผนไว้ เปรียบเทียบราคาน้ำมันตามพื้นที่ ทำให้สามารถรู้ระยะทางและระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางจริงได้  

NOSTRA Truck Map เป็นเครื่องมือที่ได้รับการพัฒนามาเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านต้นทุนงานขนส่งได้อย่างตรงจุด ด้วยทีมงาน NOSTRA ที่มีการลงพื้นที่เพื่ออัปเดตข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ นำมาซึ่งข้อมูลแผนที่ที่ถูกต้อง ชัดเจน องค์กรที่สนใจบริการ NOSTRA Truck Map กรอกความต้องการขอทดลองใช้งานฟรีได้ที่ www.nostramap.com/mapapi-th/   หรือ [email protected]

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.dlt.go.th/

ติดตามเราในช่องทางอื่นๆ

Website: www.NOSTRAMAP.com

Facebook: NOSTRA for Business

Blockdit: NOSTRA for Business

Tiktok: nostra_guides

LinkedIn: NOSTRA for Business

The post NOSTRA รวมกฎข้อบังคับสำหรับคนมีรถบรรทุก รู้ไว้ไม่โดนปรับ ! appeared first on NOSTRA MAP.

]]>
https://www.nostramap.com/2022/09/14/truck-map/feed/ 0
NOSTRA เผยรถบรรทุกขนส่งรับจ้างโต 9.49 % รับภาวะตลาดแข่งขันเดือด ต้นทุนพุ่งส่ง NOSTRA Truck Map นำเทคโนโลยีช่วยผู้ประกอบลดต้นทุน https://www.nostramap.com/2022/07/19/nostra-truck-map/ https://www.nostramap.com/2022/07/19/nostra-truck-map/#respond Tue, 19 Jul 2022 03:29:41 +0000 https://www.nostramap.com/?p=12702 NOSTRA Map โดย บริษัท โกลบเทค จำกัด ผู้ให้บริการข้อมูลแผนที่ดิจิทัล และโซลูชันด้าน Geospatial Information เผยจากวิกฤตการณ์โรคระบาด ตลอดจนปัจจัยเสริมอื่น ๆ หนุนภาคขนส่งโตก้าวกระโดด หนุนส่งให้รถบรรทุกขนส่งรับจ้างทางถนนโตเฉลี่ยปีละ 9.49 % ในขณะที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญการแข่งขันดุเดือดในอุตสาหกรรม ทั้งปัญหาต้นทุนเชื้อเพลิงที่มีราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง และต้นทุนค่าปรับจากการขับขี่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรต่างๆ เช่น กฎหมายเพื่อควบคุมการวิ่งรถบรรทุก กฎหมายการวิ่งตามเวลา น้ำหนักรถบรรทุก ถนนห้ามเข้า สะพานห้ามข้าม เป็นต้น NOSTRA ชูโซลูชันนวัตกรรม NOSTRA Truck Map ให้บริการข้อมูลแผนที่ออนไลน์สำหรับการวางแผน และการขนส่งสำหรับเส้นทางรถบรรทุก รองรับการเชื่อมต่อข้อมูลในการวางแผนการทำงานบนระบบ TMS  พร้อมทั้งรองรับการเชื่อมต่อในการยกระดับแอปพลิเคชั่น ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการรถบรรทุกสามารถลดต้นทุนได้ นายวิชัย แสงหิรัญวัฒนา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โกลบเทค จำกัด เปิดเผยว่า วิกฤตโควิด-19 ตลอดจนปัจจัยเสริมอื่น ๆเช่น การเปลี่ยนผ่านของยุคดิจิทัล เทรนด์การซื้อของออนไลน์ ล้วนส่งผลให้ธุรกิจ E-Commerce เติบโตอย่างก้าวกระโดด หนุนภาคขนส่งเติบโตตามไปด้วย อัตราการเติบโตของรถบรรทุกรับจ้างทางถนนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละกว่า […]

The post NOSTRA เผยรถบรรทุกขนส่งรับจ้างโต 9.49 % รับภาวะตลาดแข่งขันเดือด ต้นทุนพุ่งส่ง NOSTRA Truck Map นำเทคโนโลยีช่วยผู้ประกอบลดต้นทุน appeared first on NOSTRA MAP.

]]>

NOSTRA Map โดย บริษัท โกลบเทค จำกัด ผู้ให้บริการข้อมูลแผนที่ดิจิทัล และโซลูชันด้าน Geospatial Information เผยจากวิกฤตการณ์โรคระบาด ตลอดจนปัจจัยเสริมอื่น ๆ หนุนภาคขนส่งโตก้าวกระโดด หนุนส่งให้รถบรรทุกขนส่งรับจ้างทางถนนโตเฉลี่ยปีละ 9.49 % ในขณะที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญการแข่งขันดุเดือดในอุตสาหกรรม ทั้งปัญหาต้นทุนเชื้อเพลิงที่มีราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง และต้นทุนค่าปรับจากการขับขี่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรต่างๆ เช่น กฎหมายเพื่อควบคุมการวิ่งรถบรรทุก กฎหมายการวิ่งตามเวลา น้ำหนักรถบรรทุก ถนนห้ามเข้า สะพานห้ามข้าม เป็นต้น NOSTRA ชูโซลูชันนวัตกรรม NOSTRA Truck Map ให้บริการข้อมูลแผนที่ออนไลน์สำหรับการวางแผน และการขนส่งสำหรับเส้นทางรถบรรทุก รองรับการเชื่อมต่อข้อมูลในการวางแผนการทำงานบนระบบ TMS  พร้อมทั้งรองรับการเชื่อมต่อในการยกระดับแอปพลิเคชั่น ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการรถบรรทุกสามารถลดต้นทุนได้

นายวิชัย แสงหิรัญวัฒนา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โกลบเทค จำกัด เปิดเผยว่า วิกฤตโควิด-19 ตลอดจนปัจจัยเสริมอื่น ๆเช่น การเปลี่ยนผ่านของยุคดิจิทัล เทรนด์การซื้อของออนไลน์ ล้วนส่งผลให้ธุรกิจ E-Commerce เติบโตอย่างก้าวกระโดด หนุนภาคขนส่งเติบโตตามไปด้วย อัตราการเติบโตของรถบรรทุกรับจ้างทางถนนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละกว่า 9.49% ในขณะที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างดุเดือดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด เพราะนอกจากต้นทุนเชื้อเพลิงแล้ว ยังมีต้นทุนที่เกิดขึ้นจากค่าปรับจากการขับขี่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรต่างๆ เช่น กฎหมายเพื่อควบคุมการวิ่งรถบรรทุก ความเร็ว กฎหมายการวิ่งตามเวลา น้ำหนักรถบรรทุก ถนนห้ามเข้า สะพานห้ามข้าม เป็นต้น

“ปัจจุบันมีข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่ออกมาบังคับใช้เฉพาะสำหรับกลุ่มรถบรรทุก เช่น ห้ามรถบรรทุกวิ่งบางเส้นทาง ห้ามรถที่มีความสูงเกินตามที่กำหนดผ่านทางลอด ห้ามรถที่มีน้ำหนักเกินตามที่กำหนดผ่านเส้นทาง และยังพบข้อจำกัดในการขนส่งโดยรถบรรทุกทั้งในเรื่องต้นทุนสูง ทั้งในด้านค่าเชื้อเพลิง ค่าแรง ค่าซ่อมบำรุงรักษา และ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าผ่านทางพิเศษ ค่าผ่านด่านชั่งน้ำหนัก ฯลฯ  ข้อจำกัดดังกล่าว ล้วนส่งผลให้การขนส่งมีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวางแผนการเดินรถ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตัดสินใจ” นายวิชัยกล่าว

นายวิชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ล่าสุด NOSTRA Map จึงได้พัฒนา NOSTRA Truck Map บริการข้อมูลแผนที่สำหรับเส้นทางรถบรรทุก เพื่อผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ระบบบริหารการจัดส่งอัตโนมัติ (TMS) และโลจิสติกส์แอปพลิเคชันต่างๆ ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพอัลกอริทึมการกำหนดเส้นทางและการวางแผนขั้นสูงสำหรับ Fleet รถขนส่งของตัวเองได้ โดยมีปัจจัยหลักที่นำมาช่วยสนับสนุนคือ ชุดข้อมูลภูมิสารสนเทศ  GeoData เช่น โครงข่ายถนนทั่วประเทศไทย ข้อมูลการจราจรในอดีต โปรไฟล์ความเร็ว ข้อมูลการจราจรแบบเรียลไทม์ ข้อมูลน้ำหนักและส่วนสูงของรถบรรทุก ข้อมูลเวลาเปิด-ปิด และเวลาการให้บริการของจุดรับ-ส่งสินค้า และ Barrier ซึ่งเป็นข้อมูลห้ามเข้า – ออก ของถนนต่างๆเพื่อนำมาคำนวณระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งจริงได้และเลือกเส้นทางที่เหมาะสมในการขนส่งได้ตามเงื่อนไขของการขขนส่ง นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถให้บริการเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนงานจัดการการขนส่งให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลจุดพักรถ ข้อมูลจุดที่ควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น พื้นที่หน้าโรงเรียน เขตชุมชน ข้อมูลถนน เช่น ประเภทถนน ความกว้าง จำนวนเลนของถนน ข้อกำหนดความเร็วเฉลี่ยถนนแต่ละช่วง ข้อมูลตำแหน่งป้ายจำกัดความเร็ว เขตพื้นที่หวงห้าม ข้อมูลด่านชั่งน้ำหนัก ข้อมูลราคาน้ำมัน แบ่งตามแบรนด์ ประเภท และตามพื้นที่ รวมทั้งข้อมูลสภาพอากาศ การคำนวณสภาพอากาศปัจจุบัน หรือการพยากรณ์อากาศล่วงหน้า
NOSTRA Truck Map จะช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถเลือกใช้เส้นทางที่เหมาะสมที่รถบรรทุกสามารถผ่านได้ พร้อมด้วยเงื่อนไขระยะทาง หรือระยะเวลาในการขนส่งที่สั้นที่สุด สามารถคำนวณเส้นทางการขนส่งจากข้อมูลความเร็วเฉลี่ยที่รถบรรทุกสามารถวิ่งได้ โดยมีข้อมูลสำหรับนำไปใช้ในการแจ้งเตือนล่วงหน้าต่าง ๆ เช่น ด่านชั่งน้ำหนัก พื้นที่เขตโรงเรียน พื้นที่ชุมชน เพื่อความปลอดภัยในเดินรถ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันปัญหาการขนส่งสินค้าไม่ทันตามกำหนด โดยจะมีการนำข้อมูล เวลาเปิด-ปิด ของร้านค้า ช่วงเวลาที่สามารถเข้าไปรับ – ส่งสินค้าได้ มาทำการจัดลำดับการขนส่งให้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงานรถ หรือ เวลาพักรถต่าง ๆ มีการให้บริการข้อมูลในส่วนของจุดพักรถ บริเวณเส้นทาง หรือ บริเวณใกล้เคียง ที่เหมาะสมให้ได้ ป้องกันปัญหาการจอดรถไหล่ทาง จุดอับจุดเปลี่ยวได้ ลดการจราจรติดขัด

ทั้งนี้ ในด้านการลดต้นทุนเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง NOSTRA Truck Map จะเข้าไปช่วยในเรื่องการหาจุดเติมเชื้อเพลิงตามเส้นทางที่วางแผนไว้ เปรียบเทียบราคาน้ำมันตามพื้นที่ ทำให้สามารถรู้ระยะทางและระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางจริงได้   

NOSTRA Truck Map เป็นเครื่องมือที่ได้รับการพัฒนามาเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านต้นทุนงานขนส่งได้อย่างตรงจุด ด้วยทีมงาน NOSTRA ที่มีการลงพื้นที่เพื่ออัปเดตข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ นำมาซึ่งข้อมูลแผนที่ที่ถูกต้อง ชัดเจน หน่วยงานที่สนใจบริการ NOSTRA Truck Map กรอกความต้องการขอทดลองใช้งานฟรีได้ที่ www.nostramap.com/mapapi-th/   หรือ  [email protected]

The post NOSTRA เผยรถบรรทุกขนส่งรับจ้างโต 9.49 % รับภาวะตลาดแข่งขันเดือด ต้นทุนพุ่งส่ง NOSTRA Truck Map นำเทคโนโลยีช่วยผู้ประกอบลดต้นทุน appeared first on NOSTRA MAP.

]]>
https://www.nostramap.com/2022/07/19/nostra-truck-map/feed/ 0
ประโยชน์ 7 ข้อจากการนำเทคโนโลยี GIS มาประยุกต์ใช้ร่วมกับGeoData เพื่อปรับใช้กับกลยุทธ์ทางธุรกิจ (เบื้องหลังความสำเร็จบริษัทชั้นนำทั่วโลก) https://www.nostramap.com/2022/07/06/7-solution-gis/ https://www.nostramap.com/2022/07/06/7-solution-gis/#respond Wed, 06 Jul 2022 08:50:01 +0000 https://www.nostramap.com/?p=12687 เทคโนโลยี GIS และGeoData (ข้อมูลเชิงพื้นที่) ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก เพราะมีการปรับใช้กับกลยุทธ์ทางธุรกิจจนประสบความสำเร็จกันมานานหลายปี แต่ด้วยข้อจำกัดของซอฟต์แวร์และข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ที่มีราคาค่อนข้างสูงทำให้ขณะนั้นได้จำกัดการใช้งานอยู่ในกลุ่มเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ไม่แพร่หลายเหมือนเช่นในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีขั้นสูงและข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทุกวันนี้มีให้เลือกใช้งานหลากหลายในราคาที่จับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดไหน แน่นอนว่าหากเราเข้าใจในเทคโนโลยี เห็นโอกาสในการนำมาปรับใช้ก็อาจทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขัน พลิกจากผู้ตามก้าวเป็นผู้นำทางธุรกิจได้ วันนี้นอสตร้าจะมาแชร์ มาแชร์ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้าน GIS และข้อมูล (GeoData) เคล็ดไม่ลับที่องค์กรชั้นนำทั่วโลกได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงาน ตั้งแต่การวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ การเฝ้าติดตาม ที่ช่วยให้เขาประสบความสำเร็จและยิ่งใหญ่ได้เหมือนเช่นในปัจจุบันประหนึ่งว่ามีเข็มทิศในการดำเนินธุรกิจ แต่ก่อนจะไปเข้าเรื่อง Usecase ต้องขอแนะนำองค์ประกอบทั้งสองส่วน เทคโนโลยี GIS  และ NOSTRA GeoData ให้ทุกคนได้รู้จักกันก่อน องค์ประกอบแรกเทคโนโลยี GIS คืออะไร? เทคโนโลยีด้าน GIS หรือระบบภูมิสารสนเทศ เป็นการรวบรวม บริหารจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ด้านแผนที่ ซึ่งเป็นการนำเอาข้อมูลต่างๆมาแสดงผลลงบนแผนที ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติเพื่อให้สามารถมองเห็นข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น นำไปสู่การคิดวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์กันระหว่างข้อมูล สามารถนำไปใช้วางแผนธุรกิจ ตัดสินใจ แก้ปัญหา หรือสามารถนำต่อยอดเป็น Solution […]

The post ประโยชน์ 7 ข้อจากการนำเทคโนโลยี GIS มาประยุกต์ใช้ร่วมกับGeoData เพื่อปรับใช้กับกลยุทธ์ทางธุรกิจ (เบื้องหลังความสำเร็จบริษัทชั้นนำทั่วโลก) appeared first on NOSTRA MAP.

]]>

เทคโนโลยี GIS และGeoData (ข้อมูลเชิงพื้นที่) ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก เพราะมีการปรับใช้กับกลยุทธ์ทางธุรกิจจนประสบความสำเร็จกันมานานหลายปี แต่ด้วยข้อจำกัดของซอฟต์แวร์และข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ที่มีราคาค่อนข้างสูงทำให้ขณะนั้นได้จำกัดการใช้งานอยู่ในกลุ่มเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ไม่แพร่หลายเหมือนเช่นในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีขั้นสูงและข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทุกวันนี้มีให้เลือกใช้งานหลากหลายในราคาที่จับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดไหน แน่นอนว่าหากเราเข้าใจในเทคโนโลยี เห็นโอกาสในการนำมาปรับใช้ก็อาจทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขัน พลิกจากผู้ตามก้าวเป็นผู้นำทางธุรกิจได้ วันนี้นอสตร้าจะมาแชร์ มาแชร์ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้าน GIS และข้อมูล (GeoData) เคล็ดไม่ลับที่องค์กรชั้นนำทั่วโลกได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงาน ตั้งแต่การวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ การเฝ้าติดตาม ที่ช่วยให้เขาประสบความสำเร็จและยิ่งใหญ่ได้เหมือนเช่นในปัจจุบันประหนึ่งว่ามีเข็มทิศในการดำเนินธุรกิจ

แต่ก่อนจะไปเข้าเรื่อง Usecase ต้องขอแนะนำองค์ประกอบทั้งสองส่วน เทคโนโลยี GIS  และ NOSTRA GeoData ให้ทุกคนได้รู้จักกันก่อน องค์ประกอบแรกเทคโนโลยี GIS คืออะไร? เทคโนโลยีด้าน GIS หรือระบบภูมิสารสนเทศ เป็นการรวบรวม บริหารจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ด้านแผนที่ ซึ่งเป็นการนำเอาข้อมูลต่างๆมาแสดงผลลงบนแผนที ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติเพื่อให้สามารถมองเห็นข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น นำไปสู่การคิดวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์กันระหว่างข้อมูล สามารถนำไปใช้วางแผนธุรกิจ ตัดสินใจ แก้ปัญหา หรือสามารถนำต่อยอดเป็น Solution เพื่อให้เกิดเป็น Location Intelligence การวิเคราะห์ด้วยระบบภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ๆ เช่น การจัดการเส้นทางการขนส่ง การแบ่งเขตการขาย การวิเคราะห์หาพื้นที่ศักยภาพในการขยายธุรกิจหรือ Site selection (Ref: Esri Thailand | What is GIS?)

เทคโนโลยี GIS ได้รับความยอมรับและเป็นที่นิยมอย่างมากจากองค์กรต่างๆทั่วโลก ด้วยจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น

  1. เพื่อช่วยในการชี้ให้เห็นถึงปัญหา (เชิงพื้นที่)
  2. เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง
  3. เพื่อจัดการกับเหตุการณ์ต่างๆ
  4. เพื่อการคาดการณ์
  5. เพื่อการจัดลำดับความสำคัญ
  6. เพื่อทำความเข้าใจทิศทาง (Trend)

ในส่วนขององค์ประกอบสำคัญที่ 2 ที่ขาดไม่ได้ก็คือ GeoData หรือ ชุดข้อมูลแผนที่ดิจิทัล (Digital Map Data) โดยในประเทศไทย เองก็จะมีผู้ให้บริการ GeoData แบรนด์ NOSTRA (นอสตร้า) ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ได้รับการยอมรับว่ามีความละเอียดของข้อมูล มีความแม่นยำสูงครอบคลุมภูมิภาค ASEAN สามารถใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หรือจีไอเอส (GIS) และ Business Intelligence เพื่อการวิเคราะห์จัดการพื้นที่ (Site analysis) ได้เป็นอย่างดี ในชุดข้อมูลภูมิศาสตร์ประกอบไปด้วย 4 ประเภทของข้อมูล 1.ข้อมูลเชิงตำแหน่ง (Point) เช่น ตำแหน่งของสถานที่สำคัญต่าง ๆ 2.ข้อมูลเชิงเส้น (Line) เช่น ถนน เส้นทางระบบขนส่งมวลชน เส้นทางรถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟฟ้าใต้ดิน 3.ข้อมูลเชิงพื้นที่รูปปิด (Polygon) เช่น ขอบเขตการปกครองในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ขอบเขตเทศบาล ขอบเขตแหล่งน้ำ ขอบเขตของตำแหน่งสถานที่สำคัญต่าง ๆ  เป็นต้นและ 4.ข้อมูลทางสถิติศาสตร์ (Statistics) ข้อมูลที่เป็นตัวเลข  Table ข้อมูลประเภทตาราง เช่น ข้อมูลประชากรศาสตร์ระดับจังหวัด อำเภอ และตำบลได้แก่ ข้อมูลจำนวนประชากร ข้อมูลจำนวนครัวเรือน  (Ref ชุดข้อมูลภูมิศาสตร์ประกอบไปด้วย ข้อมูล 4 ประเภท : นอสตร้า ชู NOSTRA GeoData ชุดข้อมูลภูมิศาสตร์ เจาะกลุ่มอสังหาฯ รีเทล ลิสซิ่ง-สินเชื่อ หนุนดาต้าช่วยธุรกิจฟื้นตัว – NOSTRA MAP )

และเมื่อองค์กรนำ เทคโนโลยี GIS และข้อมูล GeoData ทั้ง 2 ส่วนมาวิเคราะห์ร่วมกัน จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการวางแผน และบริหารจัดการทางธุรกิจ ตลอดจนกลยุทธ์ทางการตลาด เช่น การวางแผนตั้งสาขาใหม่ การวิเคราะห์ขอบเขตพื้นที่ให้บริการได้ตามความต้องการ ที่นี้มาดูกันว่าองค์กรชั้นนำเขามีการนำ เทคโนโลยีทางด้าน GIS  และ NOSTRA GeoData ไปประยุกต์ใช้ในด้านใดได้บ้าง ?

  1. Data Display

เมื่อต้องประชุมสรุปข้อมูลจำนวนมากที่ซับซ้อนจากเดิมในรูปแบบตาราง หรือข้อมูลจากตาราง Excel ในกับผู้บริหารและทีม ต้องใช้การอธิบาย ใช้เวลากว่าจะทำความเข้าใจได้ถูกต้องตรงกันอาจใช้เวลานาน แต่บริษัทชั้นนำมักจะใช้เทคนิคการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนเหล่านั้นออกมาเป็นภาพ กราฟ แผนภูมิ เพิ่มเฉดสีต่างๆ ลงไปบนแผนที่ สร้างภาพทำให้ผู้บริหารและทีมเข้าใจข้อมูลได้อย่างง่ายและรวดเร็ว

(การนำข้อมูลที่มีจากเดิมในรูปแบบตาราง หรือข้อมูลจากตาราง Excel  มาแสดงผลเชิงพื้นที่ หรือเป็นแผนที่ ในรูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นเป็นภาพรวมในเบื้องต้น ให้ง่ายต่อการวางกลยุทธ์ในขั้นตอนต่อไป ซึ่ง 40% ของบริษัทในประเทศไทย (จากการเก็บข้อมูลของบริษัท โกลบเทค จำกัด) พบว่าบริษัทต้องการที่จะนำข้อมูลภายในที่มีไปใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์สูงสุด แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ?  การนำข้อมูลมาแสดงเป็นกลุ่มของสีลงบนแผนที่ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่ดีในการมองภาพรวมของผู้บริหาร)

2.New Customer Finding

หนึ่งในเครื่องมือช่วยหาลูกค้าใหม่ขยายตลาด หรือพาร์ททางธุรกิจขององค์กรชั้นนำของโลกคือการนำเทคโนโลยี GIS และข้อมูล GeoData มาค้นหาช่องว่างและโอกาสในการขยายธุรกิจ เพราะเพียงแค่นำฐานข้อมูลลูกค้าที่บริษัทมี ผนวกกับข้อมูล GeoData วิเคราะห์ร่วมและแสดงซ้อนทับกันบนแผนที่ ผลลัพธ์ที่ได้คือภาพสะท้อนพื้นที่ที่อาจเป็นโอกาสทางธุรกิจ ปัญหาหรือช่องว่างของการให้บริการเพื่อทีมกลยุทธ์นำไปปรับหรือสร้างแผนการตลาดได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

3.Surrounding Environment Analysis

รู้หรือไม่ว่าการวิเคราะห์กายภาพการทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมเชิงโลเคชันของทั้งตัวเอง คู่แข่ง และนำมาจำแนกว่ามีปัจจัยอะไรที่ช่วยส่งเสริมให้พื้นที่นั้นๆ เป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการลงทุน มีศักยภาพหรือไม่ อย่างไรได้จากการใช้เทคโนโลยี GIS และข้อมูล GeoData นั้น ช่วยให้บริษัทใหญ่ๆ สร้างโอกาสและวิเคราะห์ปัญหาได้ชัดขึ้น มีข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ ช่วยให้สามารถปิดจุดอ่อนนั้นได้อย่างรวดเร็ว

4.Catchment Area Analysis

โซลูชันเพื่อการวิเคราะห์หาพื้นที่ฐานของลูกค้า เพื่อตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งในการเปิดสาขาใหม่ หรือจะปิดสาขาใด ให้มีหลักการและเหตุผลมาสนับสนุน เพื่อการดำเนินธุรกิจที่มีเสถียรภาพ ด้วยเทคโนโลยี GIS และข้อมูล GeoData ทำให้องค์กรสามารถตีขอบเขต นำข้อมูลต่างๆ มาแสดงผล เช่นข้อมูลลูกค้า ข้อมูลที่ตั้งของคู่แข่งเพื่อดูการซ้อนทับของการให้บริการ โดยจะช่วยให้ทีมเห็นกลุ่มลูกค้าหลักและกลุ่มลูกค้ารองได้อย่างชัดเจน การจัดทำแคมเปญทางการตลาดจึงทำได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

5.Site Selection Analysis

  • การวิเคราะห์เพื่อหาทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพด้วยการใช้เทคโนโลยี GIS และข้อมูล GeoData เป็นสำคัญ แบ่งเป็น 2 รูปแบบย่อยๆ ได้ดังนี้
    • General Method – การวิเคราะห์เชิงลึกในพื้นที่เฉพาะเจาะจง โดยการเปรียบเทียบปัจจัยของพื้นที่เป้าหมายนั้นๆ แสดงผลวิเคราะห์ผ่านแผนที่ภาพ เพื่อเห็นผลลัพธ์ที่คาดการณ์ว่าจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการลงทุนมากที่สุดบนพื้นฐานของข้อมูลด้านโลเคชัน
    • AHP Method— การวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการมองภาพรวมของพื้นที่ จากการนำข้อมูลโลเคชัน GeoData ต่างๆ เช่น ตำแหน่งข้อมูลในหมวดต่างๆ เส้นถนน คู่แข่งทางการค้า และอื่นๆ เพื่อให้ปรากฏผลการวิเคราะห์ทำเลยุทธศาสตร์บนแผนที่พื้นที่เหมาะสมสำหรับการขยายสาขามากที่สุด

6.Evaluate Location

การนำเทคโนโลยี GIS และข้อมูล GeoData มาใช้เปรียบเทียบศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เมื่อเทียบกับพื้นที่ศักยภาพอื่นๆ เพื่อประเมินศักยภาพคาดการณ์ผลลัพธ์ในการตั้งสาขา หรือครอบคลุมกับกลุ่มลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการหรือไม่

7.Customer Segmentation Analysis

การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าจากฐานข้อมูลภายในองค์กร โดยใช้เทคโนโลยี GIS และข้อมูล GeoData มาผนวกกับโปรแกรมทางด้าน Big Data Analytics ยังทำให้องค์กรนั้นๆ รู้จัก และเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าได้มากขึ้น แน่นอนว่าเมื่อเข้าใจก็จะทำให้ตอบสนองสร้างความพึงพอใจได้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดกลุ่มลูกค้า วิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อจัดแคมเปญการตลาดได้อย่างตรงใจลูกค้า

และนี่ก็เป็น 7 อรรถประโยชน์จากการนำเทคโนโลยี GIS และข้อมูล GeoData ที่บริษัทชั้นนำของโลกปรับใช้กับกลยุทธ์ทางธุรกิจ หากคุณเป็นผู้บริหารและเห็นว่ายังไม่ได้เริ่มนำเทคโนโลยี GIS และข้อมูล GeoData ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลต่างๆ ในองค์กรมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ขอนัดเพื่อปรึกษาทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ NOSTRA ได้ฟรีค่ะ ในบทความหน้าเราจะมาลงรายละเอียดของแต่ข้อกันในเชิงลึก รอติดตามกันได้เลยค่ะ

รู้จักกับ GeoData เพิ่มเติม https://www.nostramap.com/map-for-gis-th/

ขอรับเอกสารเพิ่มเติม หรือนัดหมายเพื่อนำเสนอโซลูชัน  https://www.nostramap.com/map-for-gis-th/#Contact

หรือ [email protected]

The post ประโยชน์ 7 ข้อจากการนำเทคโนโลยี GIS มาประยุกต์ใช้ร่วมกับGeoData เพื่อปรับใช้กับกลยุทธ์ทางธุรกิจ (เบื้องหลังความสำเร็จบริษัทชั้นนำทั่วโลก) appeared first on NOSTRA MAP.

]]>
https://www.nostramap.com/2022/07/06/7-solution-gis/feed/ 0
Digital Work by NOSTRA แอปพลิเคชัน ลงเวลาเข้าออกงาน ทั้งในออฟฟิศ และ นอกสถานที่ https://www.nostramap.com/2022/05/09/digital-work-by-nostra/ https://www.nostramap.com/2022/05/09/digital-work-by-nostra/#respond Mon, 09 May 2022 09:17:53 +0000 https://www.nostramap.com/?p=11246 Digital Work by NOSTRA แอปพลิเคชัน ลงเวลาเข้าออกงาน ทั้งในออฟฟิศ และ นอกสถานที่ โดดเด่นด้วย Feature บอกพิกัด GPS ตำแหน่ง เส้นทางการเดินทางย้อนหลัง ระยะทางที่ใช้ เพื่อความโปร่งใส ง่ายต่อการตรวจสอบ Digital work by NOSTRA คือ ระบบบริหารจัดการและวิเคราะห์การทำงาน ของพนักงานที่อยู่นอกสถานที่ โดยสามารถระบุตำแหน่ง ของพนักงาน ได้เรียวไทม์ หมดปัญหา fake GPS ให้การทำงานนอกสถานที่เป็นเรื่องง่าย 📌𝗗𝗶𝗴𝗶𝘁𝗮𝗹 𝗪𝗼𝗿𝗸 by NOSTRA เหมาะกับใคร ?? พนักงานทั่วไป (Officer) : ลงเวลาเข้าออกงาน ทั้งในออฟฟิศ และ เมื่อต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ พนักงานขาย (Sale) : Track การเดินทางย้อนหลัง พิกัดตำแหน่ง เส้นทางการเดินทาง ระยะทางที่ใช้ และสามารถเก็บตำแหน่งข้อมูลลูกค้าได้ พนักงานฝ่ายบุคคล […]

The post Digital Work by NOSTRA แอปพลิเคชัน ลงเวลาเข้าออกงาน ทั้งในออฟฟิศ และ นอกสถานที่ appeared first on NOSTRA MAP.

]]>

Digital Work by NOSTRA แอปพลิเคชัน ลงเวลาเข้าออกงาน ทั้งในออฟฟิศ และ นอกสถานที่ โดดเด่นด้วย Feature บอกพิกัด GPS ตำแหน่ง เส้นทางการเดินทางย้อนหลัง ระยะทางที่ใช้ เพื่อความโปร่งใส ง่ายต่อการตรวจสอบ

Digital work by NOSTRA คือ ระบบบริหารจัดการและวิเคราะห์การทำงาน ของพนักงานที่อยู่นอกสถานที่ โดยสามารถระบุตำแหน่ง ของพนักงาน ได้เรียวไทม์ หมดปัญหา fake GPS ให้การทำงานนอกสถานที่เป็นเรื่องง่าย

📌𝗗𝗶𝗴𝗶𝘁𝗮𝗹 𝗪𝗼𝗿𝗸 by NOSTRA เหมาะกับใคร ??

  • พนักงานทั่วไป (Officer) : ลงเวลาเข้าออกงาน ทั้งในออฟฟิศ และ เมื่อต้องออกไปทำงานนอกสถานที่
  • พนักงานขาย (Sale) : Track การเดินทางย้อนหลัง พิกัดตำแหน่ง เส้นทางการเดินทาง ระยะทางที่ใช้ และสามารถเก็บตำแหน่งข้อมูลลูกค้าได้
  • พนักงานฝ่ายบุคคล (HR) : สามารถดึงข้อมูล การเข้าออกงานได้ ข้อมูลการปฏิบัติงาน นำไปใช้ประเมินผลต่อยอดได้ เช่น OT , KPI และการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หมดกังวล fake GPS
  • พนักงานบัญชี (Finance): ทราบระยะทางที่พนักงานปฏิบัติงานนอกพื้นที่ เพื่อ คำนวณการเบิกจ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้
  • หัวหน้างาน (Manager) : สามารถตรวจสอบสถานะการทำงานได้ทั้งหมดที่กล่าวมาได้ ตั้งค่าการมองเห็นข้อมูลของฝ่ายต่าง ๆ ได้ตามกลุ่มที่ต้องการให้เห็นข้อมูล ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลาการทำงาน และตรวจสอบย้อนหลังได้
  • ทีมวิศวกร (Engineering) /เทคนิค (Technical) / ทีมช่าง
    เข้าดูไซต์งานลูกค้าในหลายๆ ที่ใน 1 วัน สามารถถ่ายรูปอัปเดตความคืบหน้าของงานก่อสร้างให้ กับหัวหน้าทีมแบบ Realtime พร้อมตำแหน่งสถานที่จริงในภาพ
  • พนักงานเติมสินค้า (Merchandise Stocker) / หน่วยบริการลูกค้า (Service team) หัวหน้างานสามารถจัดพื้นที่ให้พนักงานโดยสามารถแบ่งเป็น Zone พื้นที่ให้พนักงานปฏิบัติงาน และทีมงานเมื่อลงพื้นที่ก็สามารถแนบรูปภาพของร้านค้า, พื้นที่หน้างานได้ Real time และหัวหน้างานยังสามารถดูบันทึกสรุปรายงานการทำงานของพนักงานในทีมได้อีกด้วย

✅ ศึกษารายละเอียดหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nostramap.com/dwork/ Call: 02-678-0995 Email :[email protected]

The post Digital Work by NOSTRA แอปพลิเคชัน ลงเวลาเข้าออกงาน ทั้งในออฟฟิศ และ นอกสถานที่ appeared first on NOSTRA MAP.

]]>
https://www.nostramap.com/2022/05/09/digital-work-by-nostra/feed/ 0
เช็กวันนี้ ! NOSTRA ปักพิกัดแผนที่โชว์ตำแหน่ง “ร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว” รับยา-ติดตามอาการตามระบบเจอ แจก จบ โดย สปสช. https://www.nostramap.com/2022/05/05/nostra-jer-jeak-joub/ https://www.nostramap.com/2022/05/05/nostra-jer-jeak-joub/#respond Thu, 05 May 2022 09:14:57 +0000 https://www.nostramap.com/?p=11219 บริษัท โกลบเทค จำกัด ผู้ให้บริการข้อมูลแผนที่ดิจิทัล และแอปพลิเคชัน NOSTRA นำข้อมูลตำแหน่ง “ร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว” แสดงตำแหน่งในแอปพลิเคชันแผนที่ NOSTRA เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้ผู้ป่วยสามารถเช็กตำแหน่งหาร้านยาที่ร่วมโครงการเพื่อรับยา-ติดตามอาการตามระบบเจอ แจก จบ โดย สปสช. ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยแสดงข้อมูลตำแหน่ง“ร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว” เพิ่มความสะดวกเข้าถึงยารวดเร็ว ลดความแออัดในโรงพยาบาล เพิ่มโอกาสการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอื่นต่อไป จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวหรือกลุ่มที่มีอาการเพียงเล็กน้อย เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับปรุงแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกัน กรณีโรคโควิด-19 สำหรับผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง ให้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน (Out-patient with self-Isolation) หรือ “เจอ แจก จบ” ในสถานพยาบาลต่างๆ และเพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการเข้ารับบริการ โดยเฉพาะที่หน่วยบริการใกล้บ้าน จากแนวทางดังกล่าว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงได้ร่วมกับสภาเภสัชกรรม เชิญชวนร้านยาที่มีความพร้อมบริการเพื่อร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เป็นหน่วยบริการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงลดการแออัดในสถานพยาบาลต่างๆ ทีม NOSTRA […]

The post เช็กวันนี้ ! NOSTRA ปักพิกัดแผนที่โชว์ตำแหน่ง “ร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว” รับยา-ติดตามอาการตามระบบเจอ แจก จบ โดย สปสช. appeared first on NOSTRA MAP.

]]>

บริษัท โกลบเทค จำกัด ผู้ให้บริการข้อมูลแผนที่ดิจิทัล และแอปพลิเคชัน NOSTRA นำข้อมูลตำแหน่ง “ร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว” แสดงตำแหน่งในแอปพลิเคชันแผนที่ NOSTRA เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้ผู้ป่วยสามารถเช็กตำแหน่งหาร้านยาที่ร่วมโครงการเพื่อรับยา-ติดตามอาการตามระบบเจอ แจก จบ โดย สปสช. ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยแสดงข้อมูลตำแหน่ง“ร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว” เพิ่มความสะดวกเข้าถึงยารวดเร็ว ลดความแออัดในโรงพยาบาล เพิ่มโอกาสการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอื่นต่อไป

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวหรือกลุ่มที่มีอาการเพียงเล็กน้อย เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับปรุงแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกัน กรณีโรคโควิด-19 สำหรับผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง ให้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน (Out-patient with self-Isolation) หรือ “เจอ แจก จบ” ในสถานพยาบาลต่างๆ และเพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการเข้ารับบริการ โดยเฉพาะที่หน่วยบริการใกล้บ้าน จากแนวทางดังกล่าว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงได้ร่วมกับสภาเภสัชกรรม เชิญชวนร้านยาที่มีความพร้อมบริการเพื่อร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เป็นหน่วยบริการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงลดการแออัดในสถานพยาบาลต่างๆ

ทีม NOSTRA จึงได้ประสานขอนำข้อมูลตำแหน่ง “ร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว” จากคณะทำงาน สปสช.  เพื่อแสดงในแอปพลิเคชันแผนที่ NOSTRA ซึ่งชุดข้อมูลจะประกอบด้วย รายชื่อรายยาที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมที่อยู่และรายละเอียดติดต่อ ซึ่งครอบคลุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย ประชาชนสามารถเข้าดูข้อมูลร้านยาผ่านแอปพลิเคชันแผนที่ NOSTRA และสามารถค้นหาร้านยาที่ใกล้ที่สุด หรือร้านยาในพิกัดที่เหมาะสมที่สุดเพื่อเข้ารับบริการ ซึ่งการแสดงข้อมูลตำแหน่งร้านยาในรูปแบบแผนที่ดิจิทัลนั้นจะทำให้เห็นภาพการนำเสนอข้อมูลอีกรูปแบบ ง่ายต่อการทำความเข้าใจและตัดสินใจเดินทางไปร้านยาได้อย่างสะดวก เปิดดูตำแหน่งร้านยาที่เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศบนแผนที่ https://map.nostramap.com/NostraMap/?layer/covid19pharmacy,feed/th

ปัจจุบันมีร้านยาขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการกับ สปสช.แล้วมากกว่า 500  แห่ง สังเกตสติ๊กเกอร์ที่หน้าร้านยาจะมีข้อความว่า “สถานบริการเภสัชกรรมชุมชน” และบรรทัดล่างจะเขียนว่า “เครือข่ายเภสัชกรอาสาปรึกษาโควิดผ่านระบบเภสัชกรรมทางไกล” และได้มีการนำขึ้นแสดงผลบนแผนที่ออนไลน์ NOSTRA แล้วกว่า 433 ตำแหน่ง โดยยังมีที่อยู่ระหว่างการอัปเดตข้อมูลการขึ้นทะเบียนเพิ่มเติม ประชาชนสามารถตรวจสอบรายชื่อร้านยาได้ที่เว็บไซต์ สปสช. https://www.nhso.go.th/downloads/197  หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. ประชาชนสามารถกดเพื่อดูแผนที่ของ“ร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว”  แพน ซูม ดูตำแหน่งระยะทางใกล้ไกลได้ผ่านแอปฯ แผนที่ NOSTRA MAP โดยดาวน์โหลดฟรี ใช้งานได้ทั้งรูปแบบเว็บและโมบาย คลิก https://map.nostramap.com/mobile     

นอกจากนี้ NOSTRA ยังได้ร่วมเป็นอีกหนึ่งกำลังสนุบสนุนสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 อย่างสม่ำเสมอตลอดมา โดยมีการนำข้อมูลมาแสดงผ่านแอปฯ แผนที่ นอสตร้า เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจและวางแผนการเดินทางไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แผนที่จุดฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยกรุงเทพมหานคร, ตำแหน่ง “ศูนย์พักคอย” รองรับผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วกรุงเทพฯ, แผนที่จุดตรวจโควิดเชิงรุก ด้วย Rapid Antigen Test โดย สปสช. สปคม. และคณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล และพิกัดสถานที่กักตัวทางเลือก (ASQ)

The post เช็กวันนี้ ! NOSTRA ปักพิกัดแผนที่โชว์ตำแหน่ง “ร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว” รับยา-ติดตามอาการตามระบบเจอ แจก จบ โดย สปสช. appeared first on NOSTRA MAP.

]]>
https://www.nostramap.com/2022/05/05/nostra-jer-jeak-joub/feed/ 0
4 เรื่อง !! ที่ผู้ขับขี่รถยนไฟฟ้า (EV) ต้องรู้ จะเดินทางใกล้- ไกลมั่นใจขึ้น 100% https://www.nostramap.com/2022/04/05/4-topic-ev-user/ https://www.nostramap.com/2022/04/05/4-topic-ev-user/#respond Tue, 05 Apr 2022 06:52:44 +0000 https://www.nostramap.com/?p=11142 สถานการณ์การใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด รวมถึงในประเทศไทยเองก็มีความต้องการใช้งานสอดคล้องกันกับแนวโน้มการเติบโตของโลก จากยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าแต่ละปีที่เพิ่มขึ้น จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าสะสมก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่สร้างความกังวลให้แก่ผู้ที่จะตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าอยู่มากคงเป็นเรื่องของ Infrastructure  หรือสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้านั้นยังเป็นความกังวลใจของผู้บริโภค ความเข้าใจในประเภทของการชาร์จแบบต่างๆ รูปแบบของหัวปลั๊ก หรือหัวชาร์จเองก็สร้างความสับสนไม่แพ้กัน ในโพสนี้นอสตร้าได้รวบรวม ข้อมูล 4 เรื่อง มาให้เพื่อนๆ ที่กำลังสนใจรถยนต์ไฟฟ้า หรือ  EV  มารวมกันตรงนี้ในโพสเดียวจบค่ะไปอ่านกันเลย 1.ความเร็วในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หลักๆ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ Quick Charger– การชาร์จแบบด่วนเป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) ตรงเข้าแบตเตอรี่โดยตรง ซึ่งสามารถชาร์จจาก 0-80% ได้ภายในเวลา 40-60 นาที จะเห็นได้ตามสถานีบริการ ที่ต้องการความรวดเร็วในการ Double Speed Charge —  การชาร์จแบบเร็ว เป็นการชาร์จจากเครื่องชาร์จ EV Charger เป็นตู้ชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ที่ช่วยให้ชาร์จพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่รถให้เต็มเร็วยิ่งขึ้น โดยเหลือเวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชม. Normal […]

The post 4 เรื่อง !! ที่ผู้ขับขี่รถยนไฟฟ้า (EV) ต้องรู้ จะเดินทางใกล้- ไกลมั่นใจขึ้น 100% appeared first on NOSTRA MAP.

]]>

สถานการณ์การใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด รวมถึงในประเทศไทยเองก็มีความต้องการใช้งานสอดคล้องกันกับแนวโน้มการเติบโตของโลก จากยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าแต่ละปีที่เพิ่มขึ้น จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าสะสมก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่สร้างความกังวลให้แก่ผู้ที่จะตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าอยู่มากคงเป็นเรื่องของ Infrastructure  หรือสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้านั้นยังเป็นความกังวลใจของผู้บริโภค ความเข้าใจในประเภทของการชาร์จแบบต่างๆ รูปแบบของหัวปลั๊ก หรือหัวชาร์จเองก็สร้างความสับสนไม่แพ้กัน ในโพสนี้นอสตร้าได้รวบรวม ข้อมูล 4 เรื่อง มาให้เพื่อนๆ ที่กำลังสนใจรถยนต์ไฟฟ้า หรือ  EV  มารวมกันตรงนี้ในโพสเดียวจบค่ะไปอ่านกันเลย

1.ความเร็วในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

หลักๆ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่

  • Quick Charger– การชาร์จแบบด่วนเป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) ตรงเข้าแบตเตอรี่โดยตรง ซึ่งสามารถชาร์จจาก 0-80% ได้ภายในเวลา 40-60 นาที จะเห็นได้ตามสถานีบริการ ที่ต้องการความรวดเร็วในการ
  • Double Speed Charge —  การชาร์จแบบเร็ว เป็นการชาร์จจากเครื่องชาร์จ EV Charger เป็นตู้ชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ที่ช่วยให้ชาร์จพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่รถให้เต็มเร็วยิ่งขึ้น โดยเหลือเวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชม.
  • Normal Charge — การชาร์จแบบธรรมดา เป็นการชาร์จไฟฟ้าจากตัวเต้ารับโดยตรง โดยขนาดมิเตอร์ขั้นต่ำที่แนะนำคือ 30(100)A และเต้ารับต้องติดตั้งใหม่เฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น โดยเป็นการใช้ไฟบ้านที่เป็นกระแสสลับ (AC) ที่ใช้ระยะเวลาในการชาร์จประมาณ 12-16 ชม.

2. รู้จักหัวชาร์จแต่ละประเภทว่ามีอะไรบ้าง

หัวชาร์จประเภท AC  เป็นการชาร์จแบบธรรมดา แบ่งเป็น

  • Type 1 — นิยมใช้ในรถยนต์ EV ของฝั่งอเมริกาและญี่ปุ่น จะมีลักษณะหัวต่อแบบ 5 Pin เป็นการชาร์จแบบไฟ 1 เฟส และรองรับกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 32A หรือ 7.2 kWh
  • Type 2 –นิยมใช้ในรถยนต์ EV ของฝั่งยุโรป จะมีลักษณะหัวต่อแบบ 7 Pin จะจ่ายไฟอยู่ที่ 3.7 kWh ในผู้ผลิตบางรายได้มีการพัฒนาให้เป็นรูปแบบการชาร์จไฟ 3 Phase ทำให้จ่ายไฟได้มากถึง 11 – 22 kWh

หัวชาร์จประเภท DC เป็นการชาร์จแบบด่วน แบ่งเป็น

  • DC CHAdeMo คือ CHArge de Move ชาร์จไฟแบบเร็วสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งระบบ CHAdeMO มีการใช้แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น จ่ายกระแสไฟฟ้าขนาด 50 kW
  • CCS TYPE 1 (CCS Combo 1) จะสัมพันธ์กับปลั๊กแบบ AC Type 1 เป็นหัวชาร์จที่ใช้กับรถยนต์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ลักษณะของหัวชาร์จมีขนาดเล็กกว่า CCS Type 2 และรองรับแรงดันไฟฟ้าที่ 200 V – 500 V
  • CCS Type 2 (CCS Combo 2) เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้ในแถบทวีปยุโรป และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทย หัวชาร์จประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่กว่า และมีกำลังไฟมากกว่าหัวชาร์จ CCS Type 1 

3. ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

  • ขนาดหรือความจุของแบตเตอรี่ : ถ้าแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้ามีขนาดใหญ่ ก็จะใช้ระยะเวลาในการชาร์จจนเต็มนานกว่าแบตเตอรี่ขนาดเล็ก  
  • สถานะของแบตเตอรี่ : หากปริมาณเปอร์เซ็นต์แบตเตอรี่ต่ำมาก ก็จะใช้เวลาในการชาร์จมากขึ้น
  • กำลังไฟสูงสุดที่รถยนต์ไฟฟ้ารองรับ : ความเร็วในการชาร์จไฟ จะขึ้นอยูู่กับกำลังไฟสูงสุดที่รถยนต์ไฟฟ้าคันนั้นรองรับ ถึงแม้ว่าจุดชาร์จรถยนต์จะสามารถจ่ายกำลังสูงได้ก็ตาม
  • ค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดของเครื่องชาร์จหรือจุดจ่ายไฟ : หากจุดชาร์จไฟที่มีกำลังไฟต่ำกว่ารถยนต์ ก็ทำให้ใช้ระยะเวลาในการชาร์นานมากขึ้นกว่าเดิม
  • สภาวะอากาศ : หากอุณหภูมิภายนอกสูงขึ้น ก็จะใช้ระยะเวลาในการชาร์จไฟนานขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

4.ก่อนเดินทางใกล้-ไกล ควรวางแผนการเดินทางล่วงหน้าด้วยแอปพลิเคชัน ที่มีฟีเจอร์แผนที่แบบ  Search along the route

เพื่อช่วยผู้ขับขี่ EV วางแผนหา Location สถานีชาร์จบนเส้นทางที่กำลังจะไปได้ง่ายจาก Application  หากสามารถเลือกประเภทหัวชาร์จสำหรับรถของคุณโดยเฉพาะก็จะยิ่ง สะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้ขับขี่ได้สบายใจตลอดการเดินทาง

หากคุณเป็นผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน หรือผู้ประกอบการที่กำลังมองโซลูชันที่จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าได้มากขึ้น และครบครันด้วยบริการ #แผนที่ออนไลน์ตำแหน่งสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้า ฟีเจอร์แผนที่ Search along the route จาก NOSTRA Map API และฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมาย ขอรับ Document การพัฒนาโดยใช้ NOSTRA EV Charging Stations APIs เพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการแผนที่สำหรับกลุ่ม #ผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้า ได้ที่ https://www.nostramap.com/ev-charging-station/#contact  

สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเปิดดูตำแหน่งสถานี EV Charging Station ทั่วประเทศไทยได้ฟรีในแอปฯ แผนที่ NOSTRA MAP  ดาวน์โหลดใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ  iOS  และ Android หรือ คลิกดูแผนที่ชาร์จ EV ทั่วไทยได้เลย https://map.nostramap.com/NostraMap/?layer/ev_station,feed/th

The post 4 เรื่อง !! ที่ผู้ขับขี่รถยนไฟฟ้า (EV) ต้องรู้ จะเดินทางใกล้- ไกลมั่นใจขึ้น 100% appeared first on NOSTRA MAP.

]]>
https://www.nostramap.com/2022/04/05/4-topic-ev-user/feed/ 0
5 แอปฯ รวมสถานีชาร์จ EV ที่ควรมีติดเครื่อง https://www.nostramap.com/2022/02/15/ev-5-app/ https://www.nostramap.com/2022/02/15/ev-5-app/#respond Tue, 15 Feb 2022 06:45:05 +0000 https://www.nostramap.com/?p=11022 กระแสรถไฟฟ้าที่มาแรง พร้อมนโยบายสนับสนุนจากรัฐที่ทำให้หลายๆ คนนึกอยากเป็นเจ้าของรถ EV และหันมาสนใจรถพลังงานไฟฟ้ากันมากขึ้น ที่นอกจากช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เมื่อมีรถไฟฟ้าแล้วก็ต้องมีข้อมูลของตำแหน่งสถานีชาร์จต่างๆ เพื่อความอุ่นใจ และแน่นอนว่าผู้ให้บริการสถานีชาร์จต่างๆ ก็จะพัฒนาแอปพลิเคชัน มาอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของรถ EV กันมากขึ้น  และแอดก็ได้รวบรวมแอปฯ ดีๆ ที่ผู้ใช้รถ EV ควรมีติดเครื่อง มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ ทั้ง 5 แอปฯ นั้นจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย MEA EV – แสดงตำแหน่งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้จากหลายๆ หน่วยงาน เช่น สถานีชาร์จของการไฟฟ้านครหลวง, สถานีชาร์จของ EA และ สถานีชาร์จในโครงการสนับสนุนของ EVAT 2.PlugShare – แอปค้นหาสถานนีชาร์จรถไฟฟ้าทั่วโลก ที่สามารถเลือกหัวปลั๊กชาร์จ ตามความต้องการของผู้ใช้รถ 3.EA Anywhere – แอปค้นหาสถานที่ชาร์จรถไฟฟ้าทั่วไทย สามารถจ่ายเงินจองสถานีรถและจ่ายเงินผ่านแอป ได้เลย 4.Evolt รวมตู้ชาร์จไฟที่ กระจายอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีหลากหลายทั้งในที่ชุมชน ห้างสรรพสินค้า และตามอาคารสำนักงาน โดยสามารถเช็กค่าบริการ […]

The post 5 แอปฯ รวมสถานีชาร์จ EV ที่ควรมีติดเครื่อง appeared first on NOSTRA MAP.

]]>

กระแสรถไฟฟ้าที่มาแรง พร้อมนโยบายสนับสนุนจากรัฐที่ทำให้หลายๆ คนนึกอยากเป็นเจ้าของรถ EV และหันมาสนใจรถพลังงานไฟฟ้ากันมากขึ้น ที่นอกจากช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เมื่อมีรถไฟฟ้าแล้วก็ต้องมีข้อมูลของตำแหน่งสถานีชาร์จต่างๆ เพื่อความอุ่นใจ และแน่นอนว่าผู้ให้บริการสถานีชาร์จต่างๆ ก็จะพัฒนาแอปพลิเคชัน มาอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของรถ EV กันมากขึ้น  และแอดก็ได้รวบรวมแอปฯ ดีๆ ที่ผู้ใช้รถ EV ควรมีติดเครื่อง มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ ทั้ง 5 แอปฯ นั้นจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

  1. MEA EV – แสดงตำแหน่งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้จากหลายๆ หน่วยงาน เช่น สถานีชาร์จของการไฟฟ้านครหลวง, สถานีชาร์จของ EA และ สถานีชาร์จในโครงการสนับสนุนของ EVAT

2.PlugShare – แอปค้นหาสถานนีชาร์จรถไฟฟ้าทั่วโลก ที่สามารถเลือกหัวปลั๊กชาร์จ ตามความต้องการของผู้ใช้รถ

3.EA Anywhere – แอปค้นหาสถานที่ชาร์จรถไฟฟ้าทั่วไทย สามารถจ่ายเงินจองสถานีรถและจ่ายเงินผ่านแอป ได้เลย

4.Evolt รวมตู้ชาร์จไฟที่ กระจายอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีหลากหลายทั้งในที่ชุมชน ห้างสรรพสินค้า และตามอาคารสำนักงาน โดยสามารถเช็กค่าบริการ หรือสถานะเครื่องชาร์จได้ *โปรดศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการเข้าใช้บริการแต่ละสถานที่แตกต่างกัน

5. NOSTRA Map – แอปฯ แผนที่ ที่รวบรวมตำแหน่ง EV charging stations ทั่วไทย หลากหลายแบรนด์ นอกจากจะแสดงตำแหน่งสถานีชาร์จแล้ว ยังมีรายละเอียดสำคัญเช่น ประเภทหัวชาร์จ จำนวนหัวชาร์จ ค่าบริการ ของสถานีชาร์จ และนำทางไปยังจุดหมายได้ทันที หมดกังวลเวลาต้องเดินทางไกลแล้วไฟฟ้าหมดระหว่างทาง ที่สำคัญใช้งานฟรี คลิกดูแผนที่ชาร์จ EV ทั่วไทยได้เลยhttps://map.nostramap.com/NostraMap/?layer/ev_station,feed/th

นอกจากนี้นอสตร้า ยังมีข้อมูลอีก 2 ประเภท สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจหาทำเลที่ตั้งสถานีชาร์จ ได้แก่

  • NOSTRA EV Charging Stations APIs บริการแผนที่ออนไลน์ตำแหน่งสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้า สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการที่กำลังพัฒนาแอปพลิเคชัน เว็บไซต์หรือแพลตฟอร์ม เพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการแผนที่สำหรับกลุ่มผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์การนำทาง การค้นหาสถานีชาร์จ จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ขับขี่ได้มากยิ่งขึ้น โดยนักพัฒนาสามารถเชื่อมต่อบริการไปใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาหาข้อมูลและพัฒนาขึ้นเอง โดย APIs ขณะนี้ที่พร้อมให้บริการแล้วได้แก่ Nearby search EV Charging Stations APIs นอกจากนี้ในอนาคตยังวางแผน Integrate ร่วมกับผู้ให้บริการ EV Charging Provider เพิ่มความสามารถในการแสดงสถานะ และ Booking  ให้ผู้ใช้งานสามารถกดจองผ่านแอปฯ ได้
  • NOSTRA EV Charging Stations Datasets- ชุดข้อมูลสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้า เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีทางด้าน Geospatial เพื่องานวางแผนหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุดในการติดตั้งสถานีชาร์จ เชื่อว่าจะเป็นอีกตัวช่วยที่ทำให้ติดตั้งสถานีชาร์จได้รวดเร็วและมีจำนวนเป็นไปตามเป้าสอดคล้องกับความต้องการใช้งานของกลุ่มผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดของข้อมูลตำแหน่ง (POIs) และข้อมูลที่สำคัญต่อการให้บริการไม่ว่าจะเป็น  ตำแหน่งที่ตั้ง ประเภทเต้ารับ-เต้าเสียบของสายชาร์จที่รองรับ แบรนด์ของสถานีชาร์จ ราคาค่าบริการ ช่วงเวลาเปิด – ปิดของสถานี ฯลฯ

เพราะ NOSTRA เราสนับสนุนการสร้าง Infrastructure ที่ครอบคลุม และมุ่งสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้บริโภครวมถึงกลุ่มที่กำลังจะตัดสินใจซื้อยานยนต์ไฟฟ้า

ลูกค้าองค์กรที่สนใจสามารถขอทดลองใช้งานแพคเกจฟรี ได้ที่ https://www.nostramap.com/ev-charging-station/

บุคคลทั่วไปยังสามารถเปิดดูตำแหน่งสถานี EV Charging Stations ทั่วประเทศไทยได้ฟรีในแอปฯ แผนที่ NOSTRA MAP  ดาวน์โหลดใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ  iOS  และ Android คลิกดูแผนที่ชาร์จ EV ทั่วไทยได้เลย

https://map.nostramap.com/NostraMap/?layer/ev_station,feed/th

The post 5 แอปฯ รวมสถานีชาร์จ EV ที่ควรมีติดเครื่อง appeared first on NOSTRA MAP.

]]>
https://www.nostramap.com/2022/02/15/ev-5-app/feed/ 0
Hybrid Workplace: the future of work เทรนด์ใหม่ของการทำงานในปี 2565 https://www.nostramap.com/2022/01/24/hybrid-workplace/ https://www.nostramap.com/2022/01/24/hybrid-workplace/#respond Mon, 24 Jan 2022 07:14:07 +0000 https://www.nostramap.com/?p=10554 การทำงานที่เน้นการปรับทำงานแนวใหม่ ที่ผสมผสานการเข้าออฟฟิต ทำงานที่บ้าน หรือจะที่ไหนก็ได้ เพื่อให้พนักงานเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ด้วยการใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อการทำงาน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับพนักงานได้มีทางเลือกในการทำงานมากขึ้น Hybrid Workplace คืออะไร Hybrid Workplace เป็นรูปแบบการทำงานที่ต่อยอดมาจาก Work from Home ที่ให้พนักงานทำงานจากบ้าน แต่การทำงานแบบไฮบริดจะแตกต่างออกไปตรงที่การทำงานแบบไฮบริดเป็นแบบผสมผสานที่เพิ่มความยืดหยุ่นให้พนักงานสามารถทำงานได้จากที่บ้าน ออฟฟิต หรือที่ใดก็ได้ที่เหมาะกับลักษณะการทำงาน ไลฟ์สไตล์ และชีวิตส่วนตัวมากที่สุด โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมต่อการทำงานให้สะดวกรวดเร็ว เข้าถึงข้อมูลได้อย่างปลอดภัย ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเหมือนกันกับการทำงานที่อยู่ในออฟฟิต           ออฟฟิต  = ศูนย์บัญชาการ ในรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด ออฟฟิต ยังเป็นศูนย์กลางให้พนักงานสามารถเข้ามารวมตัวแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วางแผนงานร่วมกัน แต่ต้องคำนึงถึงการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าสูงสุด มีการลดขนาดพื้นที่ออฟฟิต เพื่อประหยัดต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ได้อีกด้วย รวมถึงการนำเทคโนโลยี และโซลูชันที่ทันสมัยมาใช้เพื่อทำให้ธุรกิจคล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำไมต้อง Hybrid Workplace  ผลวิจัยจากบริษัท “Adecco” สำรวจจากพนักงานของบริษัททั่วโลกว่า 53% ต้องการรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด ซึ่งสามารถเลือกทำงานทางไกลได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของวันทำงานปกติ โดยพนักงาน 71% มีอุปกรณ์ครบที่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้การทำงานทางไกลมีประสิทธิภาพมากขึ้นนอกจากนี้ผลการสำรวจของ “GlobalData” ก็พบว่าแนวโน้มหนึ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก คือการที่พนักงานบริษัทต้องการความคล่องตัวในเรื่องสถานที่ทำงานเพื่อให้สามารถรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ได้อย่างปลอดภัย […]

The post Hybrid Workplace: the future of work เทรนด์ใหม่ของการทำงานในปี 2565 appeared first on NOSTRA MAP.

]]>

การทำงานที่เน้นการปรับทำงานแนวใหม่ ที่ผสมผสานการเข้าออฟฟิต ทำงานที่บ้าน หรือจะที่ไหนก็ได้ เพื่อให้พนักงานเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ด้วยการใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อการทำงาน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับพนักงานได้มีทางเลือกในการทำงานมากขึ้น

Hybrid Workplace คืออะไร

Hybrid Workplace เป็นรูปแบบการทำงานที่ต่อยอดมาจาก Work from Home ที่ให้พนักงานทำงานจากบ้าน แต่การทำงานแบบไฮบริดจะแตกต่างออกไปตรงที่การทำงานแบบไฮบริดเป็นแบบผสมผสานที่เพิ่มความยืดหยุ่นให้พนักงานสามารถทำงานได้จากที่บ้าน ออฟฟิต หรือที่ใดก็ได้ที่เหมาะกับลักษณะการทำงาน ไลฟ์สไตล์ และชีวิตส่วนตัวมากที่สุด โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมต่อการทำงานให้สะดวกรวดเร็ว เข้าถึงข้อมูลได้อย่างปลอดภัย ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเหมือนกันกับการทำงานที่อยู่ในออฟฟิต  

        ออฟฟิต  = ศูนย์บัญชาการ ในรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด ออฟฟิต ยังเป็นศูนย์กลางให้พนักงานสามารถเข้ามารวมตัวแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วางแผนงานร่วมกัน แต่ต้องคำนึงถึงการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าสูงสุด มีการลดขนาดพื้นที่ออฟฟิต เพื่อประหยัดต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ได้อีกด้วย รวมถึงการนำเทคโนโลยี และโซลูชันที่ทันสมัยมาใช้เพื่อทำให้ธุรกิจคล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทำไมต้อง Hybrid Workplace 

ผลวิจัยจากบริษัท “Adecco” สำรวจจากพนักงานของบริษัททั่วโลกว่า 53% ต้องการรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด ซึ่งสามารถเลือกทำงานทางไกลได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของวันทำงานปกติ โดยพนักงาน 71% มีอุปกรณ์ครบที่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้การทำงานทางไกลมีประสิทธิภาพมากขึ้นนอกจากนี้ผลการสำรวจของ “GlobalData” ก็พบว่าแนวโน้มหนึ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก คือการที่พนักงานบริษัทต้องการความคล่องตัวในเรื่องสถานที่ทำงานเพื่อให้สามารถรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ได้อย่างปลอดภัย โดยส่วนใหญ่ต้องการรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid ผสมผสานระหว่างการทำงานจากภายนอกและภายในออฟฟิต  ซึ่งพนักงานและผู้บริหารมีความยืดหยุ่นในการทำงานและมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานมากขึ้น  โดยในเอเชียเองก็มีผลยืนยันเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เช่นกัน “นายจ้างผู้คิดเรื่องการปฏิบัตงานใหม่” (EY Work Reimagined Employer Survey) ประจำปี พ.ศ. 2564 พบว่ามีองค์กร 84% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกวางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานให้เป็นแบบไฮบริดในระดับปานกลางถึงระดับสูง และส่งเสริมวิธีการปฏิบัติงานแบบไฮบริดอย่างแข็งขันเพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานที่เก่งมีความสามารถไว้ การสำรวจเดียวกันนี้ยังระบุด้วยว่าพนักงานชอบความยืดหยุ่นในสถานที่และเวลาทำงาน โดยการปฏิบัติงานแบบผสมจำนวนมากที่ระบุนั้นจะช่วยเพิ่มผลิตภาพและความคิดสร้างสรรค์ได้ดีขึ้น

โดยบริษัทใหญ่ๆ ในยุโรป เช่น “Apple” ให้พนักงานเข้าออฟฟิต  3 วันต่อสัปดาห์ และทำงานจากที่ไหนก็ได้ 2 สัปดาห์ต่อปี โดย Apple ให้เหตุผลว่าเพื่อให้พนักงานได้มีเวลาอยู่กับครอบครัว หรือคนที่คุณรักมากขึ้น และเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศการทำงาน หรือเหตุผลอื่นๆ ของแต่ละบุคคล ซึ่งการใช้สิทธิ์นี้ พนักงานต้องขออนุมัติจากผู้จัดการก่อน

“Google” เตรียมให้พนักงานกลับมาทำงาน พร้อมทั้งปรับให้เป็น Hybrid Working โดยพนักงาน 60% ทำงานที่ออฟฟิต  2 – 3 วันต่อสัปดาห์ ขณะที่ 20% สามารถย้ายไปทำงานสำนักงานสาขาของ Google ได้ และอีก 20% ของพนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้ถาวร

3 สิ่งที่ควรต้องคำนึงเมื่อจัดการทำงานแบบ Hybrid Workplace  

  1. ความห่างของหัวหน้า ลูกน้อง และความสัมพันธ์ระหว่างทีม  — เมื่อต้องทำงานโดยอยู่กันคนละที่ ทำให้ทุกคนเข้ามาเจอกันเฉพาะในเวลาที่ต้องประสานงานกันเท่านั้น ไม่มีโอกาสได้สังเกตพฤติกรรมกันแบบตัวต่อตัวจนอาจทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวขึ้นมาได้ เพราะเหล่าลูกน้องอาจมีความรู้สึกว่าไม่มีคนมาคอยสนับสนุนหรือ แนะแนวทางในการทำงานให้กับพวกเขา แถมการทำงานทางไกลแบบนี้พนักงานอาจมีความรู้สึกถูกใช้งานหนัก เพื่อให้ความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้ทุกคนมาเจอหน้ากันเพื่อที่จะรักษาสายสัมพันธ์ของทุกเอาไว้
  2. ใส่ใจความต้องการของพนักงาน อ้างอิงจากรายงานของ Microsoft  46% บอกว่าหัวหน้าไม่ช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเดินทางไกล และ 37% บอกว่า องค์กรถามพวกเขาเยอะเกินไป เพราะเกิดจากความกังวลในเรื่องความ Productive ในการทำงานของลูกน้อง ซึ่งทำให้ลูกน้องเกิดความไม่สบายใจ ดังนั้น หัวหน้าควรศึกษาความต้องการและความสามารถของพนักงานก่อนที่จะสร้าง Hybrid Workplace
  3. Hybrid Working อาจทำให้หลงกลว่า Productive เพิ่มขึ้น แน่นอนว่าในปีที่ผ่านมาเราจะเห็นสถิติว่ามีการประชุมออนไลน์เพิ่มขึ้น ระยะการประชุมที่นานขึ้น รวมไปถึงการพูดคุยผ่านทางแซท และอีเมล์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้หลายคนรู้สึกว่ากำลังจะ Overload เกินไป หมดพลังงานมากกว่าที่เคย เพียงเพราะต้องการแสดงให้เห็นว่าพนักงานขององค์กรกำลังทำให้ตัวเองอยู่ในโซนของความเป็น Productive ดูเหมือเป็นเทรนที่ทุกคนกำลังพยายาม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเห็นผลที่ทำให้ Work Life Balance ของเหล่าพนักงานลดลง

เครื่องมือสนับสนุนการทำ Hybrid Workplace ไปเป็นอย่างราบรื่น และ Productive มีอะไรบ้าง 

1.โปรแกรมช่วยในการสื่อสาร

Line – โปรแกรมพื้นฐานที่สามารถพูดคุยได้ตลอดเวลา  

2.โปรแกรมช่วยในการทำงาน

Google Drive – เป็นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ รวมถึงยังมี สเปรดชีท ออนไลน์ที่สามารถให้ทุกคนในทีมมาแชร์ไอเดียร่วมกัน

Miro — เป็นไวท์บอร์ดออนไลน์ที่รวดเร็วฟรีและใช้งานง่ายที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ทุกที่ทุกเวลา

3.โปรแกรมช่วยในการประชุม

WebEx – โปรแกรมจัดการประชุมขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับคนได้ 1,000 คน ในครั้งเดียว

Microsoft Team – โปรแกรมประชุมทีใช้กันอย่างแพร่หลาย

Google Meet – โปรแกรมประชุมที่ใช้ฟรี เพียงมี Gmail ของ Google

4.โปรแกรมช่วยในการลงเวลางาน

Digital work – แอปพลิเคชันสนับสนุนการทำงานแบบ Work from everywhere ที่พนักงานสามารถ Check in/ Check out พร้อมทั้งการ Send location ตำแหน่งหน้างานได้แบบเรียลไทม์ อีกทั้งยังสามารถ Add Note เพิ่มรายงานการทำงานทั้งข้อความและรูปภาพงานในแต่ละวัน เพื่อรายงานความคืบหน้าหรือส่งงานให้กับหัวหน้างาน หรือฝ่ายบุคคล ในการประเมินผล และดูแลจัดการทีมทำงานนอกสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งยังสามารถดูประวัติการเดินทางย้อนหลังได้อีกด้วย

Digital work

5.โปรแกรมช่วยในกิจกรรม Work Life Balance

Smart Health by NOSTRA – เครื่องมือจัดกิจกรรม ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อและรวบรวมข้อมูลสุขภาพจาก Health Tracking Platform ต่างๆ ไว้บนแพลตฟอร์มเดียว Smart Health แอปพลิเคชัน ไปเชื่อมต่อกับข้อมูลด้านสุขภาพของพนักงานจาก Activity Tracker เข้ากับฐานข้อมูลขององค์กรที่มีอยู่เดิม และสร้าง Dashboard ให้พนักงานได้ติดตามผลการแข่งขันได้แบบเรียลไทม์ ในขณะที่ทีมงาน HR ก็สามารถดูข้อมูลภาพรวม และนำส่งรายงานการมีส่วนร่วมของพนักงานทั้งหมดผ่าน Web Portal ให้กับผู้บริหารได้ สร้างการมีส่วนร่วมให้กับพนักงาน ในช่วงที่พนักงานทำงานกันอยู่ที่บ้าน สนับสนุนให้พนักงานมีการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างทีมงาน และยังช่วยสร้าง Engagement ให้กับองค์กรอีกช่องทางหนึ่งด้วย

Smart health

บริษัทฯ ที่สนใจอยากนำแอปพลิเคชัน Digital Work และแพลตฟอร์ม Smart Health by NOSTRA ไปเป็นผู้ช่วยในการทำงาน และสร้าง Engagement ภายในองค์กร

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อให้ทีมงานติดต่อกลับได้ที่

Digital Work by NOSTRA : https://www.nostramap.com/dwork/
Smart Health by NOSTRA : https://www.nostramap.com/smarthealth/

ขอบคุณข้อมูลประกอบบทความเพิ่มเติมจาก

The post Hybrid Workplace: the future of work เทรนด์ใหม่ของการทำงานในปี 2565 appeared first on NOSTRA MAP.

]]>
https://www.nostramap.com/2022/01/24/hybrid-workplace/feed/ 0